มิติสิ่งแวดล้อม
การจัดการพลังงาน
บริษัทเล็งเห็นความสำคัญของการใช้พลังงานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทได้มีการมีการจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน มีผู้สอบทานพลังงานสามัญขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินการใช้พลังงานไฟฟ้าและการใช้พลังงานความร้อนของบริษัท
ซึ่งข้อมูลการจัดการพลังงานเหล่านี้ส่งผลให้บริษัทสามารถวางแผนการลดใช้พลังงาน และการจัดการพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2562-2564 การใช้พลังงานของบริษัทเป็นดังนี้
การใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด
การใช้พลังงานเชื้อเพลิง
ปริมาณผลผลิต
ปี 2565 การใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 39,154 หน่วย และการใช้พลังงานความร้อนเพิ่มขึ้น 2,775,442.5 เมกะจูล เนื่องจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 504,903.32 กิโลกรัม แบ่งเป็นการผลิตผลไม้อบแห้งเพิ่มขึ้น 245,059.41 กิโลกรัม ปลากระป๋องเพิ่มขึ้น 259,843.91 กิโลกรัม ทำให้ค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 4,049,700 บาท
- ปรับเปลี่ยนมาใช้หลอด LED
- การบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นและเครื่องทำน้ำเย็นของเครื่องจักร
- การเปลี่ยนมาใช้เครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูง
- ติดตั้งฟิลม์กรองแสงกระจก และม่านกันความร้อน
- การนำน้ำคอนเดนเสตกลับมาใช้
- การปรับปรุง Stream Trap
- ปรับเปลี่ยนมาใช้หลอด LED
- การบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นและเครื่องทำน้ำเย็นของเครื่องจักร
- การเปลี่ยนมาใช้เครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูง
- การนำน้ำคอนเดนเสตกลับมาใช้
- การปรับปรุง Stream Trap
- ปรับเปลี่ยนมาใช้หลอด LED
- การบำรุงรักษาที่เหมาะสมของเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
- การนำน้ำคอนเดนเสตกลับมาใช้ประโยชน์สูงสุด
- การปรับปรุง Stream Trap
บริษัทมีมาตราการประหยัดพลังงานเริ่มตั้งแต่ในปี 2562 บริษัทบริหารจัดการพลังงานโดยการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟฟ้าชนิดประหยัดพลังงาน LED, การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำเย็นตามระยะเวลา, การใช้ระบบ Stream Trap และ Valve Bypass Leak เพื่อลดการสูญเสียและรั่วไหลของไอน้ำในกระบวนการผลิต ซึ่งจากมาตรการที่กล่าวมาทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในปี 2562 ได้ 168,876 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และประหยัดพลังงานความร้อนได้ 1,145,736 เมกะจูล ในปี 2563 บริษัทมีมาตรการประหยัดพลังงานโดยการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟฟ้าชนิดประหยัดพลังงาน LED เพิ่ม 159 ชุด, บำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นและเครื่องทำน้ำเย็น, การเปลี่ยนมาใช้เครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูง, ติดตั้งฟิลม์กรองแสง, ติดตั้งม่านกันความร้อน, การนำน้ำคอนเดนเสตกลับมาใช้ และการปรับปรุง Stream Trap
จากมาตรการดังกล่าวทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในปี 2563 ได้ 288,356 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ประหยัดพลังงานความร้อนได้ 8,244,903 เมกะจูล ในปี 2564 บริษัทประหยัดพลังงานไฟฟ้าในปี 2564 ได้ 192,390 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ประหยัดพลังงานความร้อนได้ 2,250,831 เมกะจูล และในปี 2565 บริษัทประหยัดพลังงานไฟฟ้าในปี 2565 ได้ 206,430 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ประหยัดพลังงานความร้อนได้ 2,821,689 เมกะจูล อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้น/ลดลงในแต่ละปีของการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อน มีปัจจัยหลักจะขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตสินค้าปีนั้นๆ
การจัดการน้ำ
น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานและการใช้งานในสำนักงานมาจากน้ำประปาทั้งหมด ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำจากกระบวนการผลิตที่เป็นน้ำเสียและไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และน้ำเสียที่มาจากการใช้งานทั่วไป บริษัทควบคุมน้ำเสียเหล่านั้นโดยคำนึงถึงข้อกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้องในชุมชนใกล้เคียง ก่อนนำน้ำเสียเหล่านั้นปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป
โดยบริษัทมีระบบการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ 2 ระบบ คือ
ระบบบำบัดแบบเลี้ยงตะกอน
ระบบถังกรองไร้อากาศ
ที่มีการตรวจวัดคุณภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย และคุณภาพน้ำในระบบบำบัดเป็นประจำทุกเดือน โดยน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัดจะมีการตรวจวัดคุณภาพก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะโดยเครื่อง BOD Online ที่มีการส่งข้อมูลแบบ Real-Time ที่เชื่อมต่อสัญญาณออนไลน์ไปที่กับกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2563, 2564 และ 2565 คุณภาพของน้ำมีการสุ่มตรวจเช็คได้ค่าคุณภาพตามต่อไปนี้
มาตรฐาน (1) | |
---|---|
pH | 5.5 – 9.0 |
BOD | < 20 |
COO | < 120 |
สารแขวนลอย | < 50 |
จาระบีและน้ำมัน | < 5 |
ไนโตรเจน Kjeldahl | < 100 |
2563 (2) | 2564 (2) | 2565 (2) | |
---|---|---|---|
pH | 8.32 | 8.22 | 8.33 |
BOD | 10.84 | 9.34 | 8.35 |
COO | 72.23 | 64.17 | 64.25 |
สารแขวนลอย | 20.31 | 16.00 | 14.50 |
จาระบีและน้ำมัน | 2.00 | 2.69 | 3.00 |
ไนโตรเจน Kjeldahl | 4.85 | 3.22 | 3.06 |
- มาตรฐานอ้างอิงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
- ค่าเฉลี่ยจากการตรวจวัดรายเดือนของในแต่ละปี
ในปี 2563 ปี 2564 และปี 2565 บริษัทมีปริมาณการใช้น้ำในกิจกรรมการผลิตทั้งหมด 333,578 ลบ.ม., 270,361 ลบ.ม. และ 261,465 ลบ.ม. ตามลำดับ จากข้อมูลการใช้น้ำของบริษัท พบว่าในปี 2565 มีปริมาณการใช้น้ำลดลง 8,896 ลบ.ม.
การจัดการอากาศ
บริษัทใช้พลังงานความร้อนจากถ่านหินเป็นหลัก ดังนั้นบริษัทจึงคำนึงถึงมลพิษทางอากาศที่อาจเกิดขึ้นโดยเลือกถ่านหินที่มีคุณภาพสูงที่สุด ปล่อยมลพิษน้อยที่สุด และดำเนินการเพิ่มระบบบำบัดอากาศ 2 ระบบเพื่อป้องกันฝุ่นละอองจากการเผาถ่านหิน
ระบบ Multi Cyclone
ระบบ Wet Scrubber
มาตรฐาน (1) | |
---|---|
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ | < 320 |
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ | < 700 |
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ | < 690 |
ค่าความทึบแสง | < 10 |
ไนโตรเจนอออกไซด์ | < 400 |
2563 (2) | 2564 (2) | 2565 (2) | |
---|---|---|---|
ฝุ่นละออง | 59.50 | 64.40 | 39.00 |
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ | 32.20 | 40.40 | 3.77 |
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ | 100.33 | 110.20 | 54.50 |
ค่าความทึบแสง | 5.00 | 5.00 | 5.00 |
ไนโตรเจนอออกไซด์ | 58.83 | 102.40 | 92.33 |
- มาตรฐานอ้างอิง U.S.EPA และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
- ค่าที่แสดงบนตารางเป็นค่าเฉลี่ยจากการตรวจวัดปีละ 2 ครั้ง ค่าจากการตรวจวัดคุณภาพดังกล่าวแสดงค่า ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ค่าสะสมของ การระบายอากาศในแต่ละปี
การจัดการของเสียและวัสดุไม่ใช้แล้ว
บริษัทดำเนินการจ้างผู้บำบัดและกำจัดของเสียที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการขนของเสียออกจากโรงงานเพื่อนำไปบำบัด รวมถึงวัสดุไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต โดยในปี 2563 ปี 2564 และปี 2565 มีของเสียที่นำออกจากโรงงานเพื่อนำไปบำบัดจำนวน 1,536.31 ตัน, 1,243.92 ตัน และ 2,336.21 ตัน
ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของปริมาณของเสียในปี 2565 มีปริมาณของเสียเพิ่มขึ้นในขณะที่ปริมาณการผลิตลดลง เนื่องจากมีการนำตะกอนจุลินทรีย์ส่วนเกินในระบบบำบัดน้ำเสียออกมากำจัด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้นได้
การจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก
บริษัทมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2563 อยู่ที่ 45,551 ตันคาร์บอนไดออกไซต์ โดยมีระยะเวลาการเก็บข้อมูล ที่ขอการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือน (TGO) ตั้งแต่ 01 มกราคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563 ตัวเลขที่ได้รับการรับรองดังกล่าว มีอายุตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 – 25 กรกฎาคม 2566